เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Eat well live well
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week8


เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช และอาหารประเภทต่างๆ ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome







7 – 8

23 มิ.ย. 2557
ถึง
ก.ค. 2557
โจทย์
 สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
Key  Questions
- นักเรียนรู้สึกอย่างไร ในขณะที่อมข้าวไว้ในปาก
- นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหารได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง
(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
Brainstorm
ระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทดลองสารอาหารประเภทแป้ง
(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อุปกรณ์ตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
- ใบพืชสำหรับการตรวจสอบ อาทิเช่น ใบถั่ว, ใบกล้วย, ใบอัญชัน, ใบข้าว ฯลฯ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด) 

จันทร์
เชื่อม ครูและนักเรียนได้ร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเกี่ยวกับสารอาหารและวิธีการตรวจสอบสารอาหารประเภทต่างๆ
ชงครูนำภาพ “แป้งจากข้าว” และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆ ที่ถ่ายได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมาให้นักเรียนร่วมสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากสิ่งที่ได้ดูนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
อังคาร
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร ในขณะที่อมข้าวไว้ในปาก?
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
พุธ
 ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากการสืบค้นข้อมูล นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหารได้อย่างไร?
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน เพื่อร่วมกันทดลอง “ตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช”
- นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง อาทิเช่น ใบพืชประเภทต่างๆ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด)
- ครูและนักเรียนร่วมทดลองตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมสังเกตและบันทึกผลการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของใบพืชแต่ละประเภท ร่วมถึงสถานที่อยู่ของใบพืชนั่นๆ
ศุกร์
ใช้ ครูและนักเรียนร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง

เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้แป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง อาทิเช่น ใบพืชประเภทต่างๆ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด)
- ทดลองตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
- ร่วมสังเกตและบันทึกผลการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของใบพืชแต่ละประเภท ร่วมถึงสถานที่อยู่ของใบพืชนั่นๆ
- ร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง
- สรุปสิ่งที่ได้ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้แป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในรูปแบบการ์ตูนช่อง

ชิ้นงาน
การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช และอาหารประเภทต่างๆ ได้

ทักษะ
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือ
 การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์สารอาหารในใบพืช
ทักษะICT

สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้โดยวิธีการทดลอง
- สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองเกี่ยวกับสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืชได้

 คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลองในรูปแบบการ์ตูนช่อง
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

จากกิจกรรมการเรียนการสอน

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเด็กๆ พบปัญหาเกี่ยวกับการปลูกข้าวทดลองในครั้งนี้มากมาย และแต่ละปัญหาเป็นสิ่งที่ท้าทายสู่การเรียนรู้ของเด็กๆ อย่างมากครับ


AAR กับเด็กๆ ในครั้งนี้
- ข้าวเริ่มติดแล้ว แต่อยู่ๆ ข้าวใบก็เหลือและสุดท้ายรากเกิดอาการเน่า และสุดท้ายข้าวตาย แก้ปัญหาโดยไปปรึกษาเพื่อนแล้วหาข้อมูลเพิ่มเติม ขอข้าวที่เกินจากท่อเพื่อนๆ นำมาแบ่งปันกัน
- บางคนดินแห้ง มีมด แมลงเข้ามาในท่อทำให้ข้าวบางต้นตาย
- มีเจ้าหอมนิลเข้ามาวิ่งเล่นในท่อ เหยียบต้นข้าวตาย
- ข้าวต้นโตมากแล้วแต่ยังไม่แตกกอ แก้ปัญหาโดยค้นหาข้อมูล สอบถามผู้รู้ เอาวิธีการมาช่วยปรุงดินเพื่อให้ข้าวแตกกอ

* ตอนนี้ข้าวของเด็กๆ ทุกคนงอกติดแล้ว เกินครึ่งห้องข้าวเริ่มแตกกอแล้วเมื่อเวลาผ่านไป 3 สัปดาห์หลังการปลูก

ขอบคุณทุกปัญหา - ให้เด็กๆ ได้คิดค้นค้นวิธีแก้ไขการปลูกข้าวในครั้งนี้ครับ

บันทึกหลังการเรียนรู้ Week 8
สิ่งที่สะท้อนว่า พี่อุ้มจุ้ย (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL
- ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโปรตีน / ระบบย่อยอาหาร / การเผาพลาญพลังงานโปรตีน
- ผ่าตัดปลา ศึกษาเกี่ยวกับสารอาหารโปรตีนในเนื้อปลา / ศึกษาระบบโครงสร้างของปลา

ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ของเด็กหญิงฐิติพร  สงครามรอด(พี่อุ้มจุ้ย) เลขที่ 1
- การเก็บรวบรวมข้อมูล : ข้อมูลที่คุณครูโจทย์ไปหาเกี่ยวกับอาหารที่มีสารโปรตีน / ระบบย่อยอาหาร / การเผาพลาญพลังงานโปรตีน พี่อุ้มจุ้ยได้เขียนเก็บรวบรวมข้อมูลลงในสมุด เพื่อรวบรวมข้อมูลของความรู้ทางวิทยาศาสตร์สารโปรตีน ขมวดตามความเข้าใจของพี่อุ้มจุ้ย ระบบย่อยอาหารของคนกับปลา

- การนำเสนอข้อมูล : ระหว่างที่ครูเล่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมให้พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนๆ ขณะที่ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดให้เด็กช่วยอธิบาย พี่อุ้มจุ้ยได้นำเสนอข้อมูลให้ครูและเพื่อนๆ รับฟังข้อมูลพร้อมๆ กันไปด้วย ระหว่างการเรียนรู้เกี่ยวกับโปรตีน
- การวางแผนการทำงาน: พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนๆ ได้โจทย์จากครูว่า นักเรียนแบบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แล้วให้แบบ่งหน้าที่เตรียมปลา(ที่ตายแล้ว) นำมาผ่าตัดศึกษาสารประเภทโปรตีนและอวัยวะของปลา พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนได้วางแผนการการทำงานจะผ่าตัดปลาต้องทำอย่างไรใครเตรียมปลา / เตรียมมีด / ที่รองผ่าตัดจะเก็บที่ใดเมื่อมาถึงโรงเรียนฯ ตอนเช้า ฯลฯ
- การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล / การแก้ปัญหา : พี่อุ้มจุ้ยกับเพื่อนๆ ในกลุ่มทำการทดลองผ่าตัดปลาศึกษาว่าเนื้อปลาส่วนไหนมีโปรตีนมากที่สุด และศึกษาโครงสร้างของปลาที่ใช้ผ่าตัดพร้อมกับวิเคราะห์สิ่งที่เห็นระหว่างทำการทดลอง บันทึกผลความคืบหน้า
 * พี่อุ้มจุ้ยได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการปลูกข้าวเนื่องจากสัปดาห์นี้ฝนตกติดต่อกันทุกวัน ทำให้ท่อมีน้ำขังในท่อที่พี่อุ้มจุ้ยใช้ปลูกข้าว จากข้อมูลที่เคยหามาพบว่าข้าวที่แตกกอแล้ว เหมาะกับสภาพที่ท่อมีน้ำขังอยู่

- การทำงานร่วมกัน: พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนๆ ในกลุ่มทดลองผ่าตัดปลา การแบ่งหน้าที่ / การแสดงความคิดเห็นระหว่างทำการทดลอง / การบันทึกผลเพื่อสังเกตผลจากการทดลอง

คุณลักษณะ : พี่อุ้มจุ้ยมีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ดูแลต้นข้าว ใส่ปุ๋ย ดูแลระดับของน้ำ ดูการปรุงดินเป็นระยะตามเวลาที่เหมาะสม และเก็บทำความสะอาดบริเวณทำการทดลอง ล้างอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และนำไปเก็บไว้ตู้เก็บอุปกรณ์อย่างเรียบร้อย

 image.jpeg


ชิ้นงานเกี่ยวคาร์โบไฮเดรต

เด็กๆ เรียนรู้วิชาPBL ใน 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาเรียนรู้เกี่ยวกับการทดสอบใบไม้ที่มีคาร์โบโฮเดรต ระบบย่อยอาหาร การเผาผลาญพลังงาน และการเขียนโครงสร้างโมเลกุ

*ถ่ายทอดความเข้าใจผ่านการสร้างนิทานช่อง เล่าความรู้ที่ตัวเองมีเป็นเรื่องราวต่างๆ นานาๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น