เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายประเภทขอสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
5 – 6
9 – 20
มิ.ย. 2557
|
โจทย์
ประเภทของสารอาหาร / วิธีการตรวจสอบสารอาหาร
Key Questions
-
นักเรียนคิดว่าอาหารมื้อเช้าที่นักเรียนทานบ่อยที่สุด เป็นเมนูใด
-
ในเมนูอาหารที่นักเรียนเลือกมีสารอาหารอะไรเป็นองค์ประกอบ
-
นักเรียนคิดว่าเราสามารถตรวจสอบสารอาหาร ที่มีอยู่ในอาหารได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทของอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
Mind Mapping
ประเภทของอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
- คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
-
เมนูอาหารมื้อเช้า
|
จันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าอาหารมื้อเช้าที่นักเรียนทานบ่อยที่สุด
เป็นเมนูใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เมนูอาหารมื้อเช้า
-
นักเรียนแต่ละคนเลือกเมนูอาหารที่ตนเองทานบ่อยที่สุดคนละ 1 เมนู พร้อมบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ในเมนูอาหารที่นักเรียนเลือกมีสารอาหารอะไรเป็นองค์ประกอบ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละค้นสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
-
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละเท่าๆ กัน
ใช้: นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นมาร่วมวิเคราะห์
และสรุปเพื่อนำเสนอข้อมูลตามรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้,
การ์ตูนช่อง ฯลฯ
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลให้เพื่อนและคุณครูร่วมตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราสามารถตรวจสอบสารอาหาร
ที่มีอยู่ในอาหารได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีตรวจสอบสารอาหาร
-
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสารอาหาร(สารอาหาร
5 หมู่)
ศุกร์
-
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสารอาหาร
-
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้
เกี่ยวกับสารอาหารและการตรวจสอบสารอาหารประเภทต่างๆ
-
นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
-
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสารอาหาร(สารอาหาร 5 หมู่)
-
-
นำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหารและวิธีการตรวจสอบสารอาหาร
ชิ้นงาน
- Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง
เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายประเภทขอสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
ทักษะ
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับสารอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือ
การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสารอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถวิเคราะห์และจำแนกประเภทของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารแต่ละประเภทได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอข้อมูลที่สืบค้นในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย อาทิเช่น Mind
Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง ฯลฯ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
Week 5
สิ่งที่สะท้อนว่าพี่พิมพ์ (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (PBL)
แก่นเรื่อง
- ประโยชน์จากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
- การนำสารอาหารคาร์โบไฮเดรตไปใช้ในร่างกาย
- การทดสอบสารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ทักษะที่เกิดขึ้น
การสืบค้นข้อมูล : พี่พิมพ์และเพื่อนๆ
ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
และจากที่มนุษย์สร้างขึ้น
การนำเสนอข้อมูล :พี่พิมพ์เล่าความคืบหน้าของข้อมูลที่หามาได้ให้เพื่อนๆ และคุณครูร่วมกันรับฟังและช่วยกันตั้งคำถาม – ตอบ
การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล /การแก้ปัญหา : พี่พิมพ์และเพื่อนๆ ทุกคน
ได้ร่วมกันทดสอบแป้งจากใบไม้ ได้ใช้หลักการของนักวิทยาศาสตร์มาร่วมกันทดลอง – การสังเกต – การตังคำถาม - การตั้งสมมติฐาน – การวิเคราะห์ข้อมูล – การสรุปผลการทดลองระหว่างที่ทำการทดลองก็ได้คิดแก้ปัญหาต่างๆ การทดลองแต่ละครั้งไปด้วยและพี่พิมพ์เขียนวิธีแก้ปัญหาจากการปลูกข้าว แล้วข้าวตายด้วยว่า
หาต้อข้าวจากเพื่อนที่เกิดมานำมาลงปลูกใหม่ และใช้วิธีการที่เหมาะสมกว่าเดิม
การทำงานร่วมกัน : พี่พิมพ์และเพื่อนทำงานการทดลองในกลุ่มผู้หญิงร่วมกัน
การวางแผนการทำงาน :ครูแนะนำกระบวนการการทดสอบแป้งในใบไม้ให้นักเรียนทุกคนกลุ่มพี่พิมพ์ก็แบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานการทดลอง
และสร้างสรรค์การทดสอบ บันทึกผลทุกข้นตอนอย่างละเอียด
คุณลักษณะ :พี่พิมพ์มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ดูแลอุปกรณ์การทอดลองทำความสะอาดเมื่อใช้เสร็จเรียบร้อย และเก็บไว้ในตู้วิทยาศาสตร์ตามเวลาที่กำหนดอย่างเรียบร้อย
การปลูกข้าว
ในการติดตามผลครั้งนี้ เด็กๆ พบปัญหาต่างๆ ในท่อปลูกข้าวของแต่ละคนมากมาย และแต่ละปัญหาล้วนนำมาสู่การเรียนรู้ ให้เด็กๆ ได้เผชิญปัญหานั้นๆ อย่างแท้จริง
พูดคุยกับเด็กๆ ในการสังเกตและติดตามผลในครั้งที่ 4 นี้ AAR
สะท้อนปัญหาที่พบ - แนวทางการแก้ไข
- ข้าวหลายๆ คนไม่แตกก่อ หรือของบางคนข้าวขึ้นไม่พร้อมกันและบางต้นขึ้นมาได้ระยะหนึ่งและใบเริ่มเปลี่ยนสี และสุดท้ายต้นข้าวแคะแกน
- ข้าวขึ้นไม่ครบ 4 ต้น หรือขึ้นมากกว่า 4 ต้น เพราะบางคนตั้งใจปลูกเพื่อที่จะมาคัดเลือก 4 ต้นที่ดีที่สุดตอนสุดท้าย
- ดินในท่อปลูกข้าวบางคนน้ำเยอะเกินไป แต่ของบางคนปล่อยให้ดินแห้งสนิท ตามวิธีที่ตนเองค้นคว้ามาแต่เริ่มต้น
*ข้าวของเด็กๆ หลายคนขึ้นมาไม่ครบ 4 ต้น หลายคนแบ่งปันต้นข้าวให้เพื่อนๆ และช่วยแนะนำกันและกัน
เช่น เพื่อนๆ ก็สอบถามเพื่อนที่ปลูกแล้วข้าวแตกก่อก่อนใครๆ เช่น พี่ตุ๊กตา, พี่หลุยส์ .. ก้เล่าถึงวิธีการของตนเองว่าทำอย่างไร / เตรียมเมล็ดพันธุ์อย่างไร / ปรุงดินอย่างไร / เติมน้ำมาก-น้อย เท่าไร ฯลฯ
ทุกคนสามารถเรียนรู้ ความสำเร็จจากคนอื่น หรือเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับงานเราแล้วยังไม่สมบูรณ์ นำผลที่เกิดมาคิดแก้ปัญหาร่วมกัน / หาวิธีที่ทำให้ผลวิจัยเราสำเร็จ > ความภูมิใจของงานจากการแก้ปัญหาจะมอบให้เด็กๆ เอง..เมื่องานได้ดังเด็กๆ แต่ละคน "พอใจ"
ในการติดตามผลครั้งนี้ เด็กๆ พบปัญหาต่างๆ ในท่อปลูกข้าวของแต่ละคนมาก
พูดคุยกับเด็กๆ ในการสังเกตและติดตามผลในคร
สะท้อนปัญหาที่พบ - แนวทางการแก้ไข
- ข้าวหลายๆ คนไม่แตกก่อ หรือของบางคนข้าวขึ้นไม่พร้
- ข้าวขึ้นไม่ครบ 4 ต้น หรือขึ้นมากกว่า 4 ต้น เพราะบางคนตั้งใจปลูกเพื่อท
- ดินในท่อปลูกข้าวบางคนน้ำเย
*ข้าวของเด็กๆ หลายคนขึ้นมาไม่ครบ 4 ต้น หลายคนแบ่งปันต้นข้าวให้เพื
เช่น เพื่อนๆ ก็สอบถามเพื่อนที่ปลูกแล้วข
ทุกคนสามารถเรียนรู้ ความสำเร็จจากคนอื่น หรือเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น