เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทโปรตีน พร้อมทั้งวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อในรูปแบบที่หลากหลายได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
9 -10
7 – 18
ก.ค. 2557
|
โจทย์
- สารอาหารประเภทโปรตีน
- การถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ระยะเวลา 1 เดือน
- ผ่าตัดปลา
Key Questions
- ในระยะเวลา 1 เดือน นักเรียนจะมีวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าสารอาหารประเภทโปรตีนมีอยู่ในอาหารประเภทใด
- นักเรียนคิดว่าโครงสร้างร่างกายของมนุษย์เหมือนหรือแตกต่างจากโครงสร้างของปลาอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหารประเภทโปรตีน และวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อในรูปแบบที่หลากหลาย
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างโครงสร้างร่างกายมนุษย์กับโครงสร้างของปลา
Brainstorm
ระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทดสอบสารอาหารประเภทโปรตีน และวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อในรูปแบบที่หลากหลาย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น เนื้อหมู, เนื้อปลา, เนื้อไก่ ฯลฯ
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์ผ่าตัดปลา
- กล้องจุลทรรศน์
- อุปกรณ์สำหรับตรวจสอบโปรตีน
|
จันทร์
เชื่อม : ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ในระยะเวลา 1 เดือน นักเรียนจะมีวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อได้อย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น เนื้อหมู, เนื้อปลา, เนื้อไก่ ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีการถนอมเนื้อสัตว์ของตนเองที่ได้จากการสืบค้นข้อมูล อาทิเช่น แหนมหมู, เนื้อแดดเดียว, หมักเกลือ ฯลฯ
อังคาร
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “อาหารที่นักเรียนชอบทานคืออะไร?”
เชื่อม: นักเรียนบอกชื่อรายการอาหารที่ตนเองชอบ และร่วมกันจัดหมวดหมู่ประเภทของสารอาหารที่ตนเองจะได้รับ
ใช้: นักเรียนแต่ละคนเตรียมเนื้อที่ตนเองต้องการศึกษาคนละครึ่งกิโลกรัม เพื่อใช้สำหรับทดลองวิธีถนอมอาหารที่ตนเองได้ศึกษา
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราจะเรียนรู้เรื่องโครงสร้างของร่างกายและระบบต่างๆ ในร่างกายของเราได้อย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาระบบโครงสร้างของปลา
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรมผ่าตัดปลา (ถุงมือ มีดโกน ปลาชนิดต่างๆ ปลานิล ปลาดุก ปลาช่อน)
ศุกร์
ใช้: นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมผ่าตัดปลา แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน คนที่ผ่าตัดปลา คนที่บันทึกผล ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้โครงสร้างปลา ผ่านการเขียนแผนภาพ
- เปรียบเทียบโครงสร้างปลากับโครงสร้างร่างกายของคนเรา
เชื่อม: ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมผ่าตัดปลาและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอวิธีการถนอมเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น เนื้อหมู, เนื้อปลา, เนื้อไก่ ฯลฯ
- เตรียมเนื้อที่ตนเองต้องการศึกษาคนละครึ่งกิโลกรัม เพื่อใช้สำหรับทดลองวิธีถนอมอาหารที่ตนเองได้ศึกษา
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบการทำงาน ส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์และโครงสร้างการทำงานของปลา เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับศึกษาในกิจกรรมผ่าตัดปลา
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับร่วมกิจกรรม “ผ่าตัดปลา”
- ผ่าตัดปลา
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่เรียนรู้จากกิจกรรมผ่าตัดปลาและผลการตรวจสอบโปรตีนในเนื้อปลา ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping, การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
- นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของข้าวจาก 4 เมล็ด ให้ได้ 2000 เมล็ด
- การคัดเลือกและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- การตรวจสอบความเหมาะสมของต้นข้าวที่จะเจริญเติบโตในท่อปูนซีเมนต์
- วิธีการปรุงดินที่มีคุณภาพและการเพาะต้นกล้าที่ใช้สำหรับเพาะปลูก
ทักษะ
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับวิธีการสืบค้นข้อมูลและการเปรียบเทียบโครงสร้างของร่างกายมนุษย์กับปลา ร่วมถึงกระบวนการตรวจสอบโปรตีนจากเนื้อปลา
ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลและการเปรียบเทียบโครงสร้างของร่างกายมนุษย์กับปลา ร่วมถึงกระบวนการตรวจสอบโปรตีนจากเนื้อปลา
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือ
การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์สารอาหารประเภทโปรตีนและระบบโครงสร้างร่างกายของมนุษย์กับปลา
ทักษะการเรียนรู้
-สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงระบบโครงสร้างร่างกายของมนุษย์กับระบบการทำงานของปลาได้
-สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองเกี่ยวกับสารอาหารประเภทโปรตีนที่อยู่ในเนื้อปลาได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลองในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping, การ์ตูนช่อง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
สิ่งที่สะท้อนว่า พี่โฟร์ท (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL
แก่นเรื่อง สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เกี่ยวกับการประกอบอาหารจากโปรตีนและสารอาหารประเภทไขมัน
ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ของพี่โพร์ท
- การเก็บรวบรวมข้อมูล : ข้อมูลที่คุณครูโจทย์ไปหาเกี่ยวกับการหมักเนื้อเก็บไว้ 1 เดือนแล้วจะนำกลับมาทำอาหารไว้รับประทานด้วยกัน พี่โพร์ทได้เขียนความคืบหน้าของการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเก็บรวบรวมข้อมูลลงในสมุด แล้วได้นำความรู้นั้นมาถ่ายทอดลงในชิ้นงานผ่านนิทานช่อง
- การทำงานร่วมกัน: พี่โพร์ทและเพื่อนๆ ในชั้นเรียนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ขมวดเป็นความเข้าใจของแต่ละคน ถ่ายทอดผ่านนิทานช่องเกี่ยวกับหารจะทำอาหารจากโปรตีนจะใช้วัสดุใดบ้างมาประกอบอาหาร เพื่อถ่ายทอดความเข้าใจ
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : พี่โพร์ทเขียนวิธีการแก้ปัญหาต่างที่พบเจอจากการเรียนรู้และการสอบถามของครู พี่โพร์ทสามารถเล่าเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาในการหมักเนื้อด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้ และแก้ปัญหาเกี่ยวกับหนอนกัดใบข้าว
- การสื่อสาร : เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารประเภทโปรตีนมาแล้ว พี่โพร์ทและเพื่อนๆ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน สุดท้ายขณะที่ส่งงานให้ครูพี่โพร์ทและเพื่อนๆ ก็ได้นำเสนอเรื่องราวในชิ้นงานดังกล่าวให้ทุกคนได้รับความรู้อีกช่องทาง
คุณลักษณะ : พี่โพร์ทมีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ดูแลต้นข้าว ใส่ปุ๋ย ดูแลระดับของน้ำ ดูการที่หนอนหรือหอยเซอรี่จะมากัดกินต้นข้าว ได้เป็นอย่างสม่ำเมสอ และทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความใส่ใจ เรียบร้อย
บันทึกหลังการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น