เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Eat well live well
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week 1-2

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของข้าวจาก 4 เมล็ด ให้ได้ 2000 เมล็ด อย่างมีคุณภาพ

Week
Input
Process
Output
Outcome







1 – 3

14 – 30
พ.ค. 2557
โจทย์
เพิ่มผลผลิตของข้าวจาก 4 เมล็ด ให้ได้ 2000 เมล็ด

Key  Question
นักเรียนแต่ละคนจะสามารถเพิ่มปริมาณเมล็ดข้าวจาก 4 เมล็ด ให้เป็น 2000 เมล็ด ในพื้นที่ที่จำกัด ได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการคัดเลือกและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
 Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบความเหมาะสมของต้นข้าวที่จะเจริญเติบโตในท่อปูนซีเมนต์
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการปรุงดินที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ร่วมถึงการเพาะต้นกล้าที่ดี
Brainstorms
- ระดมความคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- ระดมความคิดเกี่ยวกับการตรวจสอบความเหมาะสมของต้นข้าวที่จะเจริญเติบโตในท่อปูนซีเมนต์
- ระดมความคิดเกี่ยวกับวิธีการปรุงดินที่มีคุณภาพ และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ร่วมถึงการเพาะต้นกล้าที่ดี
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ทุ่งนาของโรงเรียนฯ
- เมล็ดพันธุ์ข้าว
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- ผู้รู้
- ท่อปูนซีเมนต์
- ดินสำหรับเพาะปลูก
week1
จันทร์
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมกันเกี่ยวข้าวคนละประมาณ 1 กำมือ จากแปลงนาหลังโรงเรียน
อังคาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราจะมีวิธีเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับการเพาะปลูกได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
พุธ
- ครูและนักเรียนนำร่วงข้าวที่ได้จากการเกี่ยวไปผึ่งแดดเพื่อกำจัดความชื้น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีวิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์และมีคุณภาพได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีวิธีการคัดแยกประเภทของพันธุ์ข้าวได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกันคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวตามความเข้าใจของตนเอง
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวของตนเองและคุณครูให้เพื่อนได้ร่วมรับฟัง
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและสายพันธุ์เดียวกัน อาทิเช่น การสังเกตลักษณะ(เปลือกและเมื่อแกะเปลือกแล้ว)สี ความยาวของเมล็ด ความสมบูรณ์

week2
จันทร์



ชง
:
 ครูและนักเรียนร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์(ท่อปูนซีเมนต์) คนละ 1 ท่อ สำหรับปลูกข้าว เพื่อใช้ในการศึกษากระบวนการเจริญเติบโตของตนข้าว
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างที่อยู่ในท่อปูนซีเมนต์”(น้ำขัง) / “นักเรียนคิดว่าน้ำที่ขังอยู่ในท่อปูนซีเมนต์มีคุณสมบัติเป็น กรดหรือเบส และจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอย่างไร?”
อังคาร
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำที่ขังอยู่ในท่อปูนซีเมนต์ที่มีผลต่อเจริญเติบโตของต้นข้าว
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบความเป็น กรด-เบส ของน้ำที่ท่อปูนซีเมนต์ได้อย่างไร?”
พุธ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกันผลิตกระดาษลิตมัสจากดอกอัญชัน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบความเป็น กรด-เบส
- ครูและนักเรียนนำกระดาษลิตมัสที่ได้ไปตรวจสอบความเป็น กรด-เบส ของท่อปูนซีเมนต์(ตรวจสอบโดยการนำกระดาษลิตมัสจุ่มลงในน้ำปูนที่ขังอยู่ในท่อ)
- นักเรียนแต่ละคนสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของกระดาษลิตมัส พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ศุกร์
ชง : ครูให้โจทย์ “นักเรียนแต่ละคนจะสามารถเพิ่มปริมาณเมล็ดข้าวจาก 4 เมล็ด ให้เป็น 2000 เมล็ด ในพื้นที่ที่จำกัด ได้อย่างไร?
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีวิธีการปรุงดินและเพาะต้นกล้าที่มีคุณภาพเพื่อใช้สำหรับการปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดีได้อย่างไร?”
ภาระงาน
- เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว
- คัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าว
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการคัดเลือดเมล็ดพันธุ์ข้าว และการคัดแยกประเภทขอเมล็ดพันธุ์ข้าว
- สืบค้นข้อมูลและผลิตกระดาษลิตมัส จากดอกอัญชัน
- สืบค้นข้อมูลและออกแบบการปรุงดินสำหรับการปลูกข้าว
- ปรุงดินตามสูตรที่ได้ออกแบบไว้ พร้อมทั้งเพาะต้นกล้า
 ชิ้นงาน
- เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์จำนวน 4 เมล็ด
- สูตรการปรุงดิน / ต้นกล้า
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- คัดเลือกต้นกล้าข้าวจำนวน 4 ต้น และนำลงปลูกในดินที่เตรียมไว้
- บันทึกผลสรุปความเข้าใจ ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น Flow chart , เขียนบรรยายประกอบรูป ฯลฯ ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
- นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของข้าวจาก 4 เมล็ด ให้ได้ 2000 เมล็ด
-  การคัดเลือกและคัดแยกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- การตรวจสอบความเหมาะสมของต้นข้าวที่จะเจริญเติบโตในท่อปูนซีเมนต์
- วิธีการปรุงดินที่มีคุณภาพและการเพาะต้นกล้าที่ใช้สำหรับเพาะปลูก
ทักษะการเรียนรู้
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิถีดั่งเดิมของชาวนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณภาพ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์ผลการตรวจสอบค่าความเป็น กรด-เบส ของท่อปูนซีเมนต์ ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกข้าวได้
- สามารถวิเคราะห์กระบวนการปรุงดินที่มีคุณภาพและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวได้

 คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ในทุกๆ ขั้นตอน ผ่านกระบวนการบันทึกและสร้างเป็นชิ้นงาน อาทิเช่น Flow chart , เขียนบรรยายประกอบรูป ฯลฯ
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


บันทึกการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน



 



 

1 ความคิดเห็น:

  1. ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด

    เด็กนักเรียน ม.1 ไปเกี่ยวข้าวสินเหล็กคนละ 1 กำมือ เพื่อนำข้าวไปคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เพียง 4 เมล็ด

    เตรียมปลูกที่แปลงนา(ท่อ)ทดลองของนักเรียนแต่ละคน
    หลังจากที่เด็กๆ ได้ต้นข้าวมาคนละ 1 กำมือ ก็นำมาตากแดดเพื่อให้เมล็ดพันธ์แห้ง โจทย์ที่ครูใหญ่ฝากไว้ให้กับเด็กๆ ก็คือ..

    "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด"

    คัดเลือกเมล็ดพันธุ์สินเหล็ก : เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์- เมล็ดผอม

    ด็ก ม.1 กับครูพรรณีเก็บดอกอัญชันมาต้มแล้วจุ่มกระดาษเนื้อแข็ง : แทนกระดาษลิตมัส ทดสอบกรด-เบส ในท่อเตรียมปลูกข้าว 4 เมล็ด

    เด็กๆ ม.1 ทุกคนจะบันทึกความคืบหน้าเกี่ยวกับกระบวนการปลูกข้าวของแต่ละคน พบปัญหาอะไร / แก้ปัญหาอย่างไร / ค้นพบวิธีการใหม่ๆ อะไรบ้างระหว่างทดลองทำ ฯลฯ
    ส่ิงที่เด็กๆ บันทึก จะเป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆ ทั้ง 17 คน 17 สูตรการทดลอง
    - การเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็กจากแปลงนา
    - เตรียมท่อปลูกข้าว
    - การตากข้าว
    - การนำเมล็ดข้าวไปทดลองเองดูก่อน
    - กระบวนการทดสอบกรด-เบส
    - การปรุงดินก่อนปลูก
    - สูตรปุ๋ยที่จะใช้ปลูก
    ฯลฯ

    เนื่องจากการปลูกข้าวในครั้งนี้เด็กๆ ต้องใช้ดินทุกคน ซึงดินที่ต้องใช้ปลูกในครั้งนี้อยู่ด้านหลังโรงเรียนฯ
    เด็กๆ ม.1 ทั้งผู้หญิง-ชาย ต้องนำรถไสไปขนดินที่บริเวณหลังโรงเรียนฯ 1 รถไส/ดิน 1 ท่อ (ต้องขนไปกลับ 17-19 เที่ยว)ซึ่งระยะทางและความชำรุดของรถไสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงความอดทน พยายามทำให้สำเร็จกับภาระกิจในครั้งนี้ครับ..

    หลังจากที่เด็กๆ ม.1 พบปัญหาว่าท่อที่ใช้ปลูกข้าว 4 เมล็ด มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ แต่ความเหมาะสมของการปลูกข้าวดินต้องมีฤทธิ์เป็นกรด 3.5-6.5
    เด็กๆ แก้ปัญหาโดยการเติมน้ำไว้ในท่อ เพื่อให้ปูนซีเมนส์อิ่มน้ำและเติมผักตบชวา จอก แหนแดง เพื่อดูดสารบางอย่างจากท่อปูน
    ก่อนถึงวันปลูกข้าวๆ 1-2 วัน เด็กๆ วางแผนเตรียมปรุงดินค้างคืนไว้ ผสมหมักดินกับขี้ควาย ขี้วัว ดินดำ ที่เด็กๆนำมากจากบ้านก่อนขนลงท่อในวันพรุ่งนี้..

    หลังจากที่เด็กๆ แก้ปัญหาเกี่ยวกับท่อปูนซีเมนส์มีฤทธิ์เป็นเบส โดยการเติมน้ำแช่ไว้ ใส่จอก แหนแดง วัชพืช ผสมกับน้ำไว้ค้างคืน
    จากนั้นเด็กๆ หาวัสดุมาลงในท่อ เช่น พวกใบไม้แห้ง ฟาง ปุ๋ย เศษดินเผา - เพื่อรองพื้นของท่อ เพราะเด็กๆ วางแผนไว้ว่าดินแต่ละคนทั้ง 17 สูตร ที่จะลงในท่อต่างกันทั้งหมด
    ปริมาณการรองพื้น หรือความสูง-ต่ำของดินเด็กๆ ในท่อที่จะนดินำมาลงปลูกก็จะต่างกัน
    ชั้นดินที่เด็กๆ ออกแบบก็แตกต่างกัน
    ตัวอย่าง เช่น
    ดิน-พืช-ปุ๋ย-รองพื่น-ดินดำ....
    รองพื้น-ปุ๋ย-ดินดำ-ดิน....

    เป็นต้น..

    หลังจากที่เด็กๆ แยกข้าวเมล็ดที่สมบูรณ์กับเมล็ดที่ลีบออกจากกันแล้ว เด็กๆ ก็คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุดเพียง 4 เมล็ด เพื่อที่จะทำการทดลองบำรุงเมล็ดก่อนปลูกอีกครั้ง เช่น ด้วยการแช่น้ำ ตากแดดให้เมล็ดแห้ง
    *กรณีที่แช่น้ำก่อนปลูกจะเห็นได้ชัดว่าข้าวงอกออกมาก่อนปลูกแล้ว ส่วนเด็กๆ บางคนใช้หลักการตากแดดให้แห้งไล่ความชื่นของข้าวก่อนนำลงปลูกในดิน - ส่วนบางคนเลือกเมล็ดแช่น้ำ 2 เมล็ด และเลือกเมล็ดตากแดด 2 เมล็ด
    เด็กๆ ทุกคนพบปัญหาก่อนจะปลูก ดังนี้ครับ...
    -ข้าวแต่ละเมล็ดที่จะนำลงปลูกในดิน ต้องฝังกลบในดินขนาดลึกเท่าใด - ระยะห่างจากเมล็ดต่อเมล็ดเท่าใด
    - ระยะห่างจากขอบท่อกี่เซนติเมตร
    - ความชื่นหรือแห้ง ของน้ำกับดินในท่อมีผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวอย่างไรบ้าง??

    ตอบลบ