เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Eat well live well
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์:  เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้

Week
Input
Process
Output
Outcome







4

2 – 6
มิ.ย. 2557
โจทย์
วางแผนออกแบบการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องที่ได้ฟัง
- นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
- นักเรียนคิดว่าหัวข้อหน่วย ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อหน่วย
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษสี ขนาดครึ่ง A4
- กระดาษชาร์ต
- สารคดี Food Inc
จันทร์
ชง : ครูให้นักเรียนดูสารคดี Food Inc ซึ่งเกี่ยวกับมุมมองการผลิตอาหารในด้านต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร และรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ดู?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูสารคดีFood Inc
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคน โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดย 1 เรื่อง ต่อการ์ด 1 แผ่น (Card & Chart)
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษา
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากรู้
( Think Pair Share )
พุธ
ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหัวข้อโครงงานที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อหน่วย โดยใช้วิธีการ
 Blackboard  Share โดยได้ชื่อหน่วย คือ Eat well live well กินเป็น อยู่เป็น
ใช้: นักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ลงในกระดาษชาร์ต และเขียนสรุปองค์ความรู้ ก่อนการเรียนรู้ในรูปแบบ Mind  Mapping
ศุกร์
เชื่อม:  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
- ดูสารคดี Food Inc
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเลือกหัวข้อโครงงานและออกแบบปฏิทินการเรียนรู้

ชิ้นงาน
- หัวข้อโครงงาน
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วย
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
  - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
อธิบายและปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่ในการทำงานกลุ่มรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
- เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ปรึกษาเลือกหัวข้อโครงงาน และช่วยเหลือซึงกันและกันในขณะที่ทำงาน
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับการเสนอชื่อหัวข้อหน่วย
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ปฏิทินการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น




































ข้าวเปลือกจากทางโรงเรียนฯ 1 กระสอบป่าน ซึ่งในกระสอบนี้มีเมล็ดข้าวผสมกันมาหลากหลายพันธุ์ เช่น ข้าวหอมนิล ข้าวสินเหล็ก ข้าวเล้บนก ข้าวลีบ และข้าวผสมกับหญ้า

สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ชาติ (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้



แก่นเรื่อง : วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน - สารอาหาคาโบไฮเดรต - ปลูกข้าว
ทักษะ 
- การทำงานร่วมกัน พี่ชาติได้ร่วมกันวางแผนการทำปฏิทินและเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้กีบเพื่อนๆ ไดุ้บ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มของตนเองที่รับมอบหมาย - การสืบค้นข้อมูล ในสัปดาห์นี้เข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ตามปฏิทิน เป็นเรื่องราวสารคาโบไฮเดรต พี่ชาติสืบค้นหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารประเภทนี้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น - การจัดการข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วพี่ชาติกับเพื่อนๆ ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันกับเพื่อนๆ เรียบเรียงข้อมูลเพื่อจะถ่ายทอดความเข้าใจ - การสังเกต / การติดตามผล พี่ชาติได้เรียนรู้เรื่องข้าวได้วย ในชั่วโมง PBL ครูจะให้ไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงของข้าว แล้วนำมาบันทึกผลความคืบหน้ามาเล่าให้ครูฟัง - การแก้ปัญหา / ทักษะชีวิต พี่ชาติพบปัญหาจากการปลูกข้าวเมล็ดข้าวมีมากกว่า 4 เมล็ด เพราะตอนที่นำลงในท่อต้องการใส่ให้มากกว่า 4 เมล็ดเพื่อคัดสรรที่ดีที่สุดมาปลูก 4 ต้น 

ข้าวเปลือกจากทางโรงเรียนฯ 1 กระสอบป่าน ซึ่งในกระสอบนี้มีเมล็ดข้าวผสมกันมาหลากหลายพันธุ์ เช่น ข้าวหอมนิล ข้าวสินเหล็ก ข้าวเล้บนก ข้าวลีบ และข้าวผสมกับหญ้า


*ช่วงเช้า - หรือเวลาว่างเด็กๆ ม.1 จะช่วยกันคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็ก เพื่อเตรียมไว้ใช้หว่านในแปลงนาของโรงเรียนฯ

- เด็กๆ ได้จดจ่อกับเรื่องราวที่กำลังเรียนรู้อยู่ คือ การปลูปข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด ในพื้นที่จำกัด

การเรียนรู้PBL ระยะยาว - บันทึกผลที่เกิดอย่างต่อเนื่อง


ผ่านไป 1 สัปดาห์ ข้าวสินเหล็กงอกแล้ว


ทุกๆ ตอนเช้าที่มาถึงโรงเรียนฯ เด็กๆ จะทำหน้าที่ดูแลความสะอาดรอบๆ อาคารเรียน ม.1 และจะแบ่งเวลาไปเฝ้าสังเกตุการณ์การงอกของเมล็ดข้าวสินเหล็ก

*ทุกเรื่องราวความเคลือนไหวของข้าวการปลูกข้าวทั้ง 17 ท่อ
เด็กๆ จะนำเรื่องราวมาเขียนถ่ายทอดลงสมุดเล่มเล็กให้ครูได้อ่านทุกๆ สัปดาห์
- ปัญหาที่พบ / กระบวนการแก้ปัญหานั้น
- สูตรการปรุงดิน / น้ำ ระหว่างรอข้าวงอก
- แผนสำรอง หากเมล็ดข้าวไม่งอก
ฯลฯ

หรือ..เด็กๆ บางคนก็มาเล่าความคืบหน้าให้ครูฟัง หรือเอาปัญหาที่พบไปแชร์กับเพื่อนๆ ที่ข้าวของเพื่อนงอกออกมาแล้ว แต่ของเรายังไม่งอกเลย เพื่อนก็ช่วยเพื่อ - หรือบางคนขอคุณครูปลูกใหม่ เพราะเชื่อว่าได้วิธีที่ดีกว่า..

**ก็เลยทำให้ ทุกๆ คนมีแผน 2 เตรียมไว้ ทุกคนจะเพาะเมล็ดพันธุ์เตรียมไว้ และทดลองปลูกในอีกพื้นที่หนึ่ง รอบๆ อาคารเรียน


นักเรียนทุกคนต่างมีอิสระในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวิชาProblem-based learning (PBL)
ในสัปดาห์นี้ผมเลือกบางตัวอย่างของชิ้นงานที่ถ่ายทอดผ่านหลากหลายรูปแบบงานเขียน ผ่านเครื่องมือคิดต่างๆ

*หัวข้อสัปดาห์นี้ - วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน


ในการบันทึกความเคลื่อนไหวในครั้งนี้ จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการบำรุงดูแลต้นข้าวที่เริ่มงอกออกมาแล้ว
แต่เมล็ดข้าวของเด็กๆ บางคนยังไม่ทันงอกออกมา อาจจะเป็นเพราะช่วงวัน เวลา ของการปลูกข้าวแตกต่างกัน เด็กๆ บางคนฝังเมล็ดข้าวลงลึกมาก บางคนเพียงวางเมล็ดไว้บนผิวดิน บางคนเพาะเป็นต้นกล้าจากข้างนอกจึงค่อนนำมาปลูกครับ..


*PBL เกี่ยวกับข้าวเกิดขึ้นตลอดการเรียนรู้เรื่องนี้.
เด็กๆ มาโรงเรียนฯ แต่เช้าเพื่อมาดูการเจริญเติบโตวันละนิดๆ เฝ้าสังเกตุการณ์การเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาเขียนสรุปให้ครูได้อ่านความคืบหน้าของการปลูกข้าวครั้งนี้

AAR กับนักเรียน สัปดาห์นี้..
- เจอปัญหาเรื่องมด มารบกวนแปลงปลูก มากัดเมล็ดพันธู์ในดิน
- เด็กๆ หลายๆ คนไม่กล้าที่จะเติมน้ำลงท่อ เพราะกลัวเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะเน่า โดนน้ำขัง
- พอข้าวงอกออกมาแล้ว เริ่มไม่มั่นใจว่าจะเป็นข้าวสินเหล็ก 100% หรือเปล่า และเด็กๆ หลายๆ คนก็ยังพบเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็กใหม่ที่ทางโรงเรียนฯ นำมาให้ช่วยคัดแยก 1 กระสอบป่านใหญ่
- ท่อปูนซีเมนส์ที่ใช้ปลูก แห้งง่ายมากๆ แต่ละวัน เพราะแสงแดดแผดเผาท่อปลูกตลอดทั้งวัน ช่วงเย็นต้องไปรดน้ำบางๆ บริเวณผิวดิน
- นักเรียนเกินครึ่งห้องมีแผน 2 คือ เพาะเมล็ดพันธุ์ปลูกเตรียมไว้รอบๆ บ้าน ม.1 เพื่อที่เด็กๆ จะคัดสรรหาต้นข้าวที่ดีที่สุดมาลงปลูกในครั้งนี้


หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านๆ มาเด็กๆ ได้ลงมือทำเรื่องข้าวเป็นหลักเกือบตลอด 2 สัปดาห์
มาสัปดาห์นี้เข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้PBL ภาคเรียนที่ 1/57 นี้ครับ
- ครูสร้างแรงโดยการให้ดูคลิปFood INC ตามด้วยคำถาม
* ได้เรียนรู้อะไรจากคลิปสารคดี
* จากคลิป มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตเรา
* จะนำความรู้ไปปรับใช้อย่างไร ต่อไป..

กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ..
- วิเคราะห์ปัญหาสังคม (card & chart) (Think pair share)
- เลือกหัวข้อโครงงาน , สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้ 20 สัปดาห์
- Mind mapping (ก่อนเรียน)

เด็กๆ ม.1 ได้ Topic: Eat well live well (กินเป็นอยู่เป็น)


Week4 : สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ชาติ (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้PBL สัปดาห์นี้..

แก่นเรื่อง : วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน - สารอาหาคาโบไฮเดรต - ปลูกข้าว

ทักษะ
- การทำงานร่วมกัน พี่ชาติได้ร่วมกันวางแผนการทำปฏิทินและเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้กีบเพื่อนๆ ไดุ้บ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มของตนเองที่รับมอบหมาย
- การสืบค้นข้อมูล ในสัปดาห์นี้เข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ตามปฏิทิน เป็นเรื่องราวสารคาโบไฮเดรต พี่ชาติสืบค้นหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารประเภทนี้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น
- การจัดการข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วพี่ชาติกับเพื่อนๆ ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันกับเพื่อนๆ เรียบเรียงข้อมูลเพื่อจะถ่ายทอดความเข้าใจ
- การสังเกต / การติดตามผล พี่ชาติได้เรียนรู้เรื่องข้าวได้วย ในชั่วโมง PBL ครูจะให้ไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงของข้าว แล้วนำมาบันทึกผลความคืบหน้ามาเล่าให้ครูฟัง
- การแก้ปัญหา / ทักษะชีวิต พี่ชาติพบปัญหาจากการปลูกข้าวเมล็ดข้าวมีมากกว่า 4 เมล็ด เพราะตอนที่นำลงในท่อต้องการใส่ให้มากกว่า 4 เมล็ดเพื่อคัดสรรที่ดีที่สุดมาปลูก 4 ต้น

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

1 ความคิดเห็น:

  1. เด็กๆ มาโรงเรียนฯ แต่เช้าเพื่อมาดูการเจริญเติบโตวันละนิดๆ เฝ้าสังเกตุการณ์การเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาเขียนสรุปให้ครูได้อ่านความคืบหน้าของการปลูกข้าวครั้งนี้

    AAR กับนักเรียน สัปดาห์นี้..
    - เจอปัญหาเรื่องมด มารบกวนแปลงปลูก มากัดเมล็ดพันธู์ในดิน
    - เด็กๆ หลายๆ คนไม่กล้าที่จะเติมน้ำลงท่อ เพราะกลัวเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะเน่า โดนน้ำขัง
    - พอข้าวงอกออกมาแล้ว เริ่มไม่มั่นใจว่าจะเป็นข้าวสินเหล็ก 100% หรือเปล่า และเด็กๆ หลายๆ คนก็ยังพบเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็กใหม่ที่ทางโรงเรียนฯ นำมาให้ช่วยคัดแยก 1 กระสอบป่านใหญ่
    - ท่อปูนซีเมนส์ที่ใช้ปลูก แห้งง่ายมากๆ แต่ละวัน เพราะแสงแดดแผดเผาท่อปลูกตลอดทั้งวัน ช่วงเย็นต้องไปรดน้ำบางๆ บริเวณผิวดิน
    - นักเรียนเกินครึ่งห้องมีแผน 2 คือ เพาะเมล็ดพันธุ์ปลูกเตรียมไว้รอบๆ บ้าน ม.1 เพื่อที่เด็กๆ จะคัดสรรหาต้นข้าวที่ดีที่สุดมาลงปลูกในครั้งนี้


    หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านๆ มาเด็กๆ ได้ลงมือทำเรื่องข้าวเป็นหลักเกือบตลอด 2 สัปดาห์
    มาสัปดาห์นี้เข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้PBL ภาคเรียนที่ 1/57 นี้ครับ
    - ครูสร้างแรงโดยการให้ดูคลิปFood INC ตามด้วยคำถาม
    * ได้เรียนรู้อะไรจากคลิปสารคดี
    * จากคลิป มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตเรา
    * จะนำความรู้ไปปรับใช้อย่างไร ต่อไป..

    กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ..
    - วิเคราะห์ปัญหาสังคม (card & chart) (Think pair share)
    - เลือกหัวข้อโครงงาน , สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
    - ปฏิทินการเรียนรู้ 20 สัปดาห์
    - Mind mapping (ก่อนเรียน)

    เด็กๆ ม.1 ได้ Topic: Eat well live well (กินเป็นอยู่เป็น)


    Week4 : สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ชาติ (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้PBL สัปดาห์นี้..

    แก่นเรื่อง : วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน - สารอาหาคาโบไฮเดรต - ปลูกข้าว

    ทักษะ
    - การทำงานร่วมกัน พี่ชาติได้ร่วมกันวางแผนการทำปฏิทินและเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้กีบเพื่อนๆ ไดุ้บ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มของตนเองที่รับมอบหมาย
    - การสืบค้นข้อมูล ในสัปดาห์นี้เข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ตามปฏิทิน เป็นเรื่องราวสารคาโบไฮเดรต พี่ชาติสืบค้นหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารประเภทนี้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น
    - การจัดการข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วพี่ชาติกับเพื่อนๆ ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันกับเพื่อนๆ เรียบเรียงข้อมูลเพื่อจะถ่ายทอดความเข้าใจ
    - การสังเกต / การติดตามผล พี่ชาติได้เรียนรู้เรื่องข้าวได้วย ในชั่วโมง PBL ครูจะให้ไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงของข้าว แล้วนำมาบันทึกผลความคืบหน้ามาเล่าให้ครูฟัง
    - การแก้ปัญหา / ทักษะชีวิต พี่ชาติพบปัญหาจากการปลูกข้าวเมล็ดข้าวมีมากกว่า 4 เมล็ด เพราะตอนที่นำลงในท่อต้องการใส่ให้มากกว่า 4 เมล็ดเพื่อคัดสรรที่ดีที่สุดมาปลูก 4 ต้น

    ตอบลบ